การใช้ Keyword ที่ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้ เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการทำ SEO หรือ Search Engine Optimization เพื่อผลักดันให้สินค้า, คอนเทนต์ หรือเว็บไซต์ ติดหน้าแรกบน Search Engine อย่างเช่น Google, Youtube และ Shopee ซึ่งในหนึ่งวันผู้ใช้ป้อนคำค้นหามากมายเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการ
วันนี้เรามีเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือสำหรับรวบรวมคำที่ผู้ใช้ค้นหาบ่อยๆ มาแนะนำกัน โดยมีทั้งรายงาน และเปรียบเทียบออกมาเป็นKeyword Idea ที่ผู้เขียนสามารถนำไปใช้เขียนคอนเทนต์ เพื่อให้ลูกค้าหาสินค้านั้นๆ เจอได้ง่ายขึ้น

1. Google Keyword Planner
เป็นเครื่องมือช่วยหาKeyword ที่ผูกอยู่กับบัญชีการใช้งาน Google Ads เป็นของ Google ทำให้ข้อมูลมีความแม่นยำน่าเชื่อถือ โดยจะอยู่ในส่วนของ Tool&Setting > Planning > Keyword Planner
จุดเด่น
- ใช้งานได้ฟรี เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้น
- แสดงจำนวนการค้นหา (Search Volume)โดยเฉลี่ยต่อเดือน จาก Keyword ที่ป้อนและคำที่ใกล้เคียง โดยสามารถเลือกโลเคชั่นและช่วงเวลาได้ หากไม่ได้ลงโฆษณากับทาง Google จะไม่ได้แสดงเป็นตัวเลขเป๊ะๆ จะแสดงผลเป็น Range คร่าวๆ แทน
- แสดงระดับการแข่งขันของ Keywordนั้นๆ ว่ามีคนค้นหามากน้อยในระดับใด
- แสดงราคาประมูลเฉลี่ย(Bid) ในตำแหน่งต่ำสุดและสูงสุดของลำดับการค้นหาบน Search Engine
- มีเครื่องมือ Forecast แสดงจำนวน Clicks, Impressions, Cost, CTR, Avr.CPC ช่วยให้ตัดสินใจว่า Keyword นั้นเหมาะจะเอาไปใช้หรือไม่

2. Google Trends
อีกเครื่องมือหนึ่งของ Google ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องผูกกับบัญชีใดๆ เป็นตัวช่วยให้เลือกใช้ Keyword ได้ดี สามารถดูคำ Keyword แต่ละคำ ว่ามีผู้ใช้ค้นหาเยอะแค่ไหนในแต่ละพื้นที่ แสดงคำใกล้เคียง อัตราการเติบโตของการค้นหาคำ Keyword นั้นๆ รวมถึงแนวโน้มการค้นหาที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันสามารถดูย้อนหลังได้ถึงปี 2004 เลยทีเดียว
จุดเด่น
- ใช้ดูแนวโน้มของตลาดสินค้าและบริการตามพื้นที่ หมวดหมู่และช่วงเวลาที่ต้องการได้
- เปรียบเทียบ Keyword ที่ใกล้เคียงกันได้ ว่าคำไหนผู้ใช้นิยมใช้ค้นหามากกว่า โดยแสดงออกมาในรูปกราฟเส้นและกราฟแท่ง
- นอกจากช่วยในการเลือก Keyword แล้ว สามารถดู Recently Trending หรือคำที่คนนิยมค้นหาในช่วงนี้ได้ แสดงให้เห็นว่าช่วงนี้ผู้ใช้สนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ นำไปปรับใช้เป็นหัวข้อในการทำคอนเทนต์ได้อีกด้วย

3. Ubersuggest
เว็บไซต์ที่ไว้ใช้สำหรับวิเคราะห์ Keyword สร้างโดย Neil Patel ผู้เชี่ยวชาญในการทำ SEO ระดับโลก โดดเด่นในการทำ Keyword Research มีให้ใช้ทั้งแบบฟรี เสียเงินและแบบทดลองใช้ 7 วัน โดยแบบฟรีจะมีการจำกัดจำนวนครั้งในการค้นหา Keyword, จำนวน Keyword ที่เกี่ยวข้องที่แสดงเพิ่มเติม รวมไปถึงจำกัด Content idea ที่แสดง ส่วนในเวอร์ชันเสียเงินเริ่มต้นเดือนละ 12$ หรือประมาณ 375 บาท แพ็กเกจตลอดชีพเริ่มต้น120$ หรือประมาณ 3,750 บาทเท่านั้น
จุดเด่น
- ราคาถูกเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆในรูปแบบเดียวกัน
- แบบฟรียังสามารถค้นหาจาก Keyword ยาวๆ หรือ Keyword แบบคำถามได้
- แสดง Keyword Ideas แนะนำ Niche Keyword ที่เจาะจงขึ้นอีก อาจมีปริมาณค้นหาไม่สูงมาก แต่หากเว็บไซต์อันดับติดหน้าแรกด้วย Niche Keyword จะมีโอกาสเกิด Conversion สูงกว่าใช้ Mass Keyword เพราะตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่านั่นเอง
- ช่วยวิเคราะห์คู่แข่ง สามารถค้นหา Keyword จากเว็บคู่แข่ง หรือเว็บที่มีบทความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ได้ โดยการนำโดเมนมาค้นหา ช่วยลดระยะเวลาในการหาไอเดียทำคอนเทนต์
- ช่วยหา Content Idea จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้ Keyword ที่เราป้อนเข้าไปได้ โดยแสดงเป็นชื่อหัวข้อและลิงก์ต้นทางให้กดเข้าไปอ่านได้เลย

4. Keyword Tool หรือ Keyword Tool.io
เป็นเว็บไซต์ที่ค้นหา Keyword ตามระบบ Autocomplete ทำให้มีโอกาสเจอKeyword ที่ไม่ได้แสดงใน Google Keyword Plannerได้ มี Interface ที่ใช้งานง่าย ใช้ได้ทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน ซึ่งแบบฟรีจะแสดงเพียง Keyword ขึ้นมา ในส่วนของข้อมูลตัวเลขต้องเสียเงินก่อนเท่านั้น โดยราคาเริ่มต้นที่ 69$ หรือประมาณ 2,150 บาทต่อเดือน
จุดเด่น
- สามารถหา Keyword ที่เป็นรูปแบบคำถามได้ ใช้ค้นหา Keywordในภาษาไทยได้ดี เมื่อเทียบกับเว็บไซต์หรือเครื่องมือตัวอื่น
- ค้นหา Keyword ได้จากหลาย Platform ได้ เช่น Youtube Amazone Bay Instagram Twitter Playstore ซึ่งส่วนมากจะค้นหาได้เพียงจาก Search Engine
- ค้นหาโดยแยกตาม Search Engineได้ เช่น Google Bing Yahoo
- 30-Day Money Back Guarantee เมื่อสมัครใช้แบบเสียเงินแล้วไม่อยากใช้ต่อ สามารถขอคืนเงินได้ใน 30 วัน

5. Ahrefs Keyword Explorer
เป็นส่วนหนึ่งของ Ahrefs ซึ่งเป็นโปรแกรม Analytic ที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการทำ SEO โดยเฉพาะ มี Database ที่ใหญ่มากถึง 5,100 ล้านคำค้นหา เพื่อผู้ใช้งานมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก เครื่องมือนี้อาจไม่เหมาะกับมือใหม่เท่าไหร่นัก เพราะจะเจาะรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ในเชิงลึกมากขึ้น จะใช้งานได้ต้องสมัครสมากชิกกับ Ahrefs เริ่มต้นที่ 99$ หรือประมาณ 3,090 บาทต่อเดือน แบบทดลองใช้ 7 วันในราคาเริ่มต้น 7$ หรือประมาณ 218 บาท
จุดเด่น
- ข้อมูลละเอียดครบถ้วน มีความเที่ยงตรงสูงมากเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด
- ใช้การเก็บข้อมูลเพื่อเน้นนำเสนอ Click Metrics ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแบบเฉพาะของ Ahrefs ให้ดูประกอบการพิจารณาเลือก Keyword
- มีเครื่องมือ Content Gap ที่ช่วยวิเคราะห์และติดตามอันดับของเว็บไซต์ สามารถดูได้ว่ายังทำคอนเทนต์แบบไหนได้อีกเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง
- เมื่อเป็นสมาชิกกับ Ahrefs จะมีฟีเจอร์อีกหลากหลายที่เป็นประโยชน์ในการทำเว็บไซต์ เช่น Site Explorer ที่สามารถเช็ก Search Traffic หรือ Backlink ได้ หรือ Rank Tracker เอาไว้ตรวจสอบอันดับเว็บไซต์ที่เราทำSEO ดูภาพรวมจากที่ทำไปแล้วว่ามีทิศทางหรือแนวโน้มแบบใด
