
แนวคิดการทำธุรกิจ ไทย 🇹🇭 VS ญี่ปุ่น 🇯🇵️
ผมได้มีโอกาสไปญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อประมาณเกือบ 20ปีที่แล้ว ตอนนั้นผมอายุประมาณ13 ปี ทริปนั้นผมบอกกับตัวเองว่าผมอยากจะกลับมาประเทศนี้อีกหลายๆครั้ง ด้วยเพราะคน วัฒนธรรม ธรรมชาติ และอีกหลายๆอย่างที่ทำให้ผมหลงไหลในประเทศนี้ จนถึงวันนี้ผมมีโอกาสไปญี่ปุ่นราวๆ 10 ครั้ง วันนี้ผมเลยอยากจะมาแชร์สิ่งที่ผมได้เห็นในการทำธุรกิจของคนญี่ปุ่น กับ การทำธุรกิจของคนไทย อันนี้ต้องขอออกตัวก่อนว่า เป็นแค่การสังเกตเฉยๆนะครับ .
ที่ประเทศญี่ปุ่น หากมีร้านราเมนดังขึ้นมาร้านนึง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อีกไม่นานสี่แยกนั้นจะมีร้านอาหารชนิดอื่น เช่น หมูทอด, Izakaya, yakitori, tepanyaki, etc อีกมากมายเกิดขึ้นตามมา จนกลายเป็นแหล่งอาหารที่ใครๆก็ต้องมา แต่ถ้าเป็นเมืองไทย หากมีร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชื่อดังขึ้นมาร้านนึง ภายใน 3เดือน สี่แยกนั้นจะกลายเป็นสี่แยกแห่งก๋วยเตี๋ยวเรือ ไม่เชื่อลองนึกถึงคลองรังสิตดูสิครับ .
ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรกที่ริเริ่มไอเดีย OTOP โดยทุกเมืองจะมีของขึ้นชื่อ ตัวอย่างเช่น ที่ Hokkaido ก็จะโด่งดังเรื่องมันฝรั่ง,นม หรือ ที่ Nagano ก็จะขึ้นชื่อในเรื่อง apple, ส่วนที่ Shizuoka ก็ต้องเป็นชาเขียวอย่างแน่นอน เป็นต้น แต่ละที่ก็มีมากมายหลายร้านที่ขายของแปรรูปจาก raw material โดยมีรัฐบาลช่วยโปรโมท ซึ่งเวลาผมไปเดินร้านของฝากในแต่ละที่ อย่างเช่น ที่ hokkaido คือ ทุกร้านจะต้องตาลายไปกับขนมมันฝรั่งเป็นหลายสิบชนิด หรือหากไปที่ Nagano ก็จะมีผลิตภัณฑ์จากแอปเปิ้ลหลากหลายชนิดจนล้นร้านเลยทีเดียว แต่พอมองย้อนกลับมาที่ OTOP เมืองไทย เมื่อไปแต่ละจังหวัดก็มี OTOPโปรโมท แต่พอดูสินค้าเท่านั้นแหละ ทุกร้านทุกจังหวัดขายของเหมือนกันหมดแบบ 100% ไม่ว่าจะเป็นปลาหมึกแปลรูป 10แบบ ทุเรียนกวน ทุเรียนกรอบ ทุเรียนอบ แม้แต่ไปเดิน night market ทุกร้านก็ขายกางเกงมวย กางเกงช้าง พวงกุญแจช้าง เหมือนกันหมดเช่นกัน จนหาความแตกต่างแทบไม่เจอ นี่คืออีกหนึ่งความแตกต่างทางความคิดของคนญี่ปุ่นกับไทย .
ในการทำธุรกิจ คนญี่ปุ่นจะใส่ใจรายละเอียดมากๆ ทำให้เค้าสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อย่างมาก เหมือนที่พี่โน๊ตอุดมเคยพูดไว้ในเดี่ยว7เรื่อง Artตัวแม่ คือใช่เลย ร้านอาหารของญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่เพิ่มมูลค่าได้อย่างมหาศาลเลยหละครับ แต่ไม่ใช่เพียงแค่อาร์ตในจัดวางหรือการหั่นปลาเท่านั้นนะครับ แต่รวมไปถึงความละเอียดพิถีพิถันของการคัดเลือกเนื้อปลา(raw material)อีกด้วย
.
ในทางกลับกัน ในเมืองไทยคนทำธุรกิจส่วนใหญ่ มุ่งเน้นที่การลดต้นทุนสินค้าให้ถูกที่สุดก่อน บางครั้งยอมที่จะ compromise คุณภาพสินค้าลง ซึ่งตรงนี้ คือ จุดอ่อนที่ทำให้ธุรกิจหลายๆอย่างในประเทศไทยไม่สามารถ add value ได้แบบคนญี่ปุ่นหละคร้าบ
อันที่จริงแล้วการลดต้นทุนสินค้าเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญ แต่เราจะต้องไม่ลดต้นทุนจนลดคุณภาพไปด้วยนะคร้าบบบ
ยังมีอีกหลายเรื่องหลายมุมเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่ผมอยากจะมาแชร์ให้ฟัง แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อนละกันนะคร้าบบ ถ้าเพื่อนๆชอบเรือ่งญี่ปุ่น ไว้ผมจะกลับมาแชร์มุมอื่นๆของญี่ปุ่นในมุมมองของผมให้ฟังกันอีกน้าคร้าบบบ